Algo especial de la luna

La mañana de 23 junio de 2013 ha sido la mañana que me siento más feliz del año. No sabía porqué pasó eso. Al levantarme me sentía lleno de felicidad. Era el único. Sentía con fuerza, frescura y felicidad (en el momento debería sentirme mal por los problemas y las dificultades que se presentaban).

Primero pensaba que era por el resultado de MI MÉTODO llevo practicando desde unos meses atras. En parte sí. Soy más tolerante ante los dolores y problemas.

Pero luego me enteré que es día es el día del Super Luna, el día y la noche que se ve la lunar más grande del año.

Oh, el poder la luna!!!!

Tenía conocimiento previo sobre la importancia de la luna sobre la fuerza del bien que se emite. Pero esta vez la que sentía efecto de la luna.

Super luna

 

 

 

ซื้อหวย = ซื้อความผิดหวัง?

 

เชื่อหรือไม่ว่า คนที่ชอบซื้อหวยทุกคนคิดว่า ตนกำลังซื้อ “ความหวัง” ว่าจะถูกรางวัล

ความจริงมีอยู่ว่า…

โอกาสถูกหวยมีอยู่น้อยมาก  หรือราว 0.0999%

ฉะนั้นโอกาสไม่ถูกหวย โดนหวยกิน หรือโอกาส “ความผิดหวัง” มีอยู่ถึง 99.9111%

 

สรุปคือ เวลาเราซื้อหวย คือ การซื้อความผิดหวังนั่นเอง

 

ถามว่า…ความผิดหวังนี่  เราต้องซื้อด้วยหรือครับ?

 

ความผิดหวังในชีวิตเรา มันมีมาอยู่เสมอ  … ไม่ต้องพยายามซื้อหามาก็ได้

 

 

[Ref. Factor 2. Accepting the truth]
 
 

 

อยู่กับความจริง – ผลที่ต้องการ – เหตุที่ต้องทำ

A simple logic, A solution magic

อยู่กับความจริง  กำหนดผล ประกอบเหตุ แล้วจะทุกข์น้อยลง

สืบเนื่องจากบทความนี้  ในส่วนของ “การยอมรับความจริง”และ “การอยู่กับความจริง”  แล้วทุกข์จะน้อยลง

จะนำมาอธิบาย ขยายความอยู่เรื่อยๆ เพื่อความเข้าใจที่กระจ่างแจ้งขึ้นในทางปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และแนวทางแก้ไข

สังเกตได้ว่าในชีวิตประจำวัน มันมีกระบวนการบางอย่างที่เรามาทำอยู่เสมอ ทั้งๆที่เป็นสิ่ง “ไม่จำเป็น” และ “เป็นผลเสีย” หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนของ “ออโต้-ดราม่า” ก็ได้

สิ่งเหล่านี้คือ “ความอยาก” และ “ความคาดหวัง

ในการดำเนินชีวิต หรือการกระทำอย่างใด อย่างหนึ่ง

ถ้าเราทำ อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง และใช้ ลอจิก ที่ง่ายที่สุด ก็จะได้ผลสูงสุด โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มส่วนที่เป็น “ดราม่า” ลงไปก็ได้

แล้วเราจะพบว่า ผลที่ได้รับ จะดีกว่า และกระบวนการในชีวิตนั้นจะมีประสิทธิภาพมากกว่าเสมอ

อธิเช่น

ตัวอย่างเชิงเปรียบเทียบ

ความจริง คือ เรามีน้ำที่ขุ่น และแก้วน้ำ วางอยู่บนโต้ะ

ผลที่ต้องการ คือ น้ำในแก้วใส ตะกอนฝุ่นตกกองอยู่พื้นแก้ว

เหตุที่ต้องประกอบ คือ วางแก้วน้ำ ไว้บนโต้ะ นิ่งๆ สักพัก  โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติมอีก

สิ่งที่มักทำเพิ่ม คือ

1) อยากจะให้น้ำในแก้วใสเร็วๆ  เดินวนไปวนมา แล้วบ่นว่า ใสสิๆ

2) คาดหวังให้น้ำในแก้วใสเร็วๆ  ไปจับแก้วเขย่าไปมา แล้วบอกว่า ใสสิๆ

จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เรามักทำเพิ่มเติมเข้าไปอยู่เสมอๆ ไม่ได้สอดคล้องกับเหตุที่ต้องประกอบจริงๆ  และบ่อยครั้งสิ่งเหล่านี้ จะเป็นตัวขัดขวางให้ ผลที่ได้ช้าลง

หรือล้มเหลวไปได้

ตัวอย่างจริง (1)

ความจริง คือ เรารู้สึกว่า ใจไม่ค่อยสงบ ต้องการให้ใจสงบขึ้น

ผลที่ต้องการ คือ ใจสงบนิ่ง เป็นสมาธิ

สิ่งที่ต้องประกอบ คือ นั่งลง หลับตา นิ่งๆ เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร เพียงสังเกตร่างกายเรา  อะไรจะเข้าก็ให้มันเข้า อะไรจะออกก็ให้มันออก (ลมหายใจ) แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรอีก

กระบวนการที่ไม่จำเป็นที่มักทำคู่กันเสมอ คือ

1) อยากจะให้ใจสงบเร็วๆ  …. ใจก็ไม่สงบ

2) คาดหวังให้ใจสงบเร็วๆ…. ใจก็ไม่สงบ

ตัวอย่างจริง (2)

เราต้องทำรายงานส่งอาจารย์

ความจริง คือ มีคำสั่งให้เราทำรายงานส่งอาจารย์ ตามวันเวลาที่กำหนด

ผลที่ต้องการ คือ รายงานที่เขียนเสร็จ

เหตุที่ต้องประกอบ คือ ค้นคว้าและเขียนรายงาน  ถ้าไม่ทำตรงนี้ รายงานก็ไม่มีวันเสร็จ  ไม่ว่าจะอยากหรือคาดหวังให้เสร็จเพียงใดก็ตาม

กระบวนการที่ไม่จำเป็นที่มักเกิดคู่กันเสมอ คือ

1) “อยากจะให้รายงานเสร็จ”…   สิ่งนี้ ไม่ได้ทำให้รายงานเสร็จ   ผลเสียคือ ทำให้ใจเสียพลังงาน ทำให้การทำรายงาน ทำได้ประสิทธิภาพน้อยลง

2) “คาดหวังให้รายงานเสร็จ”…  สิ่งนี้ก็ไม่ได้ทำให้รายงานเสร็จเร็จขึ้น แต่ผลเสียคือ ทำให้ใจกระวนกระวาย เสียสมาธิ สูญเสียพลังงานทางจิต

ฉะนั้นสองอย่างนี้ จะเป็นแฟกเตอร์ส่วนเกิน หรือแฟกเตอร์ที่ไม่จำเป็น ในชีวิตนั่นเอง จะเรียกว่า “ดราม่ากับตัวเอง” ก็ย่อมได้

ตัวอย่างจริง (3)

ความจริง คือ นอนไม่ค่อยหลับ หลับไม่ค่อยสนิท

ผลที่ต้องการ คือ ตอนหลับง่ายและหลับสนิท

เหตุที่ต้องประกอบ คือ หลับตาและก็นอน ทำเพียงเท่านี้

กระบวนการที่ไม่จำเป็นที่มักเกิดคู่กันเสมอ คือ

1) “อยากจะนอนหลับเร็วๆ”…   สิ่งนี้ ไม่ได้ทำให้เรานอนหลับเร็วขึ้น  ผลเสียคือ หลับช้าลง หลับยาก หรือ ไม่หลับเลย

2) “คาดหวังให้นอนหลับเร็วๆ”…  เช่นเดียวกัน สิ่งนี้ ไม่ได้ทำให้เรานอนหลับเร็วขึ้น  ผลเสียคือ หลับช้าลง หลับยาก หรือ ไม่หลับเลย

ตัวอย่างจริง (4)

ความจริง คือ หิวข้าว

ผลที่ต้องการ คือ อิ่ม

เหตุที่ต้องประกอบ คือ กินข้าว

กระบวนการที่ไม่จำเป็นที่มักเกิดคู่กันเสมอ คือ

1) “อยากจะกินข้าว อยากจะอิ่ม”…   การอยากจะกินไม่ได้ทำให้เราอิ่ม แต่จะทำให้เรากระวนกระวายมากขึ้น

2) “คาดหวังจะกินข้าว คาดหวังว่าจะอิ่ม”…  เช่นเดียวกัน สิ่งนี้ ไม่ได้ทำให้เราอิ่ม แต่กลับทำให้หิวหนักขึ้นไปอีก

คืออาการหิวเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นตามความต้องการของร่างกาย  แต่ความอยากจะกินเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเอง (โดยไม่จำเป็น) ตรรกง่ายๆ คือ

เมื่อรู้สึกหิว ก็หาอะไรกิน  แล้วก็จะอิ่ม จบ  ไม่จำเป็นที่ต้องอยากจะกินหรืออยากจะอิ่ม

สรุปคือ ในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา จะมีกระบวนการทางจิตบางอย่าง ที่มักเกิดขึ้น คู่กันเสมอ โดยที่เราไม่ทันรู้ตัว และไม่ทันสังเกตว่า กระบวนการเหล่านี้ ไม่ได้มีความจำเป็น และไม่ได้ช่วยให้สิ่งที่เราทำ เสร็จเร็วขึ้นหรือสำเร็จมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน คือ ทำให้เราเสร็จช้าลง หรือไม่สำเร็จเลย และทำให้ทุกข์มากขึ้น เพราะว่า

สิ่งนี้ “ความอยากและความคาดหวัง” คือสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า ตัณหา ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั่นเอง

ฉะนั้นการยอมรับและใช้ชีวิตตามความเป็นจริง ตามตรรกะที่เป็นอยู่จริง โดยไม่ต้องใช้ “ความอยากและความคาดหวัง” เข้ามาประกอบ แค่เพียง กำหนดผลที่ต้องการ แล้วประกอบเหตุที่ต้องทำ  จะทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น (ไม่ซับซ้อน ไม่ดราม่า) ทำให้เราทำอะไรๆ ได้สำเร็จง่ายขึ้นและความทุกข์ในชีวิตก็จะลดลง

สูตร 3+1 (mind attitude) เพื่อชีวิตที่สมบูรณ์ ปลอดทุกข์ถาวร

 

บทสรุปจากทุกบทความก่อนหน้านี้ 30 บทความ คือบทความที่ 31 ซึ่งโดยความบังเอิญ ตรงกับหัวขอ 3+1 ที่จะเขียนพอดี…

จากที่ได้ศึกษา วิเคราะห์ และลองปฏิบัติดู ได้ข้อสรุปคำสอนในพระพุทธศาสนาในเชิงปฏิบัติ* (ทางใจ or mind attitude) ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้…

(*เป็นบทสรุปจากมรรค 8 คือส่วนของ สมาธิและปัญญา โดยยกเรื่องศีลเอาไว้ก่อน)

สูตร 3

1) รู้ตัว …เพียงแค่รู้พอ  (มีสติ)  be mindful

เพียงแค่รู้ตัว  คือให้เรามีสติอยู่กันตัวได้ให้มากที่สุด… สังเกตว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เคลื่อนไหวอย่างไร อารมณ์เป็นอย่างไร  รับรู้แต่ไม่รู้สึก ในทางปฏิบัติคือหลักปฏิปัฐาน 4 นั่นเอง  และวิธีที่นิยมกันคือ ให้ใจอยู่กับลมหายใจ  ให้สังเกตเข้าอย่างไร ออกอย่างไร ถี่อย่างไร ห่างอย่างไร ยาวอย่างไร สั้นอย่างไร อยู่กับปัจจุบันของจิตให้มากที่สุด …ไม่ต้องทำอะไรให้มากไปกว่าการเฝ้าดู เพียงแค่รู้… มีหนังสือจากพระและโยมนักปฏิบัติมากมายที่แนะนำเรื่องนี้  เมื่อใจหยุดอยู่กับกายมากเท่าไร่ ใจก็จะค่อยๆ สงบ  ระดับสมาธิก็ค่อยๆ พัฒนาไปเองโดยธรรมชาติ ตามลำดับ จนกว่าจะถึงจุดที่พ้นทุกข์ได้อย่างถาวร…

2) ยอมรับความจริง  accept the truth

การอยู่แบบยอมรับความจริง และอยู่กับความจริงด้วยใจที่เป็นปกติ เป็นคติในการดำเนินชีวิตที่สำคัญ แม้เป็นเรื่องยาก แต่ผลที่ได้นั้นมีมากมาย ทำให้คลายทุกข์ได้มาก

“สิ่งที่ยากที่สุดในชีวิตมนุษย์คือ… การยอมรับความจริงและอยู่กับความจริงนั้น…ด้วยใจที่เป็นปกติ”

“สิ่งที่ง่ายที่สุดในชีวิตมนุษย์…ไม่มี”

3) ลดความยึดมั่นในตัวตน  try to be selfless

ระดับการยึดมั่นในตัวตนเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุด ที่จะทุกข์หรือไม่ทุกข์  ยึดมั่นมากก็ทุกข์มาก ยึดมั่นน้อยก็ทุกข์น้อย  อธิบายคือเมื่อมี Object มากระทบ (ผัสสะ) กับ subject  ตัวตนคือ subject นี้และ เมื่อไม่มีตัวรับกับสิ่งที่มากระทบ ประโยคหรือกระบวนการ ก็ไม่สมบูรณ์ ผลก็คือ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ดังที่พุทธพจน์ที่ว่า เห็นก็สักแต่ว่าเห็น  ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน เป็นต้น  รับรู้แต่ไม่รู้สึก  การลดการยึดมั่นในตัวตนนั่นเกี่ยวข้องกับหลักไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกข์ อนัตตา โดยตรง ซึ่งจะได้อธิบายในโอกาสต่อไป

ยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่างประโยค I want furby  ถ้า I เหลือศูนย์  I(0%) want furby »» I  want furby ประโยคก็ไม่สมบูรณ์ ไม่มีตัว Subject ผลก็ไม่มี คือเป็นศูนย์ ความดิ้นรนทางจิต(ตัญหา)ก็เป็นศูนย์  ทุกข์ก็เป็นศูนย์

ในลักษณะเดียวกัน ถ้า I เหลือเพียงครึ่งเดีย I(50%) want furby »» I/2  want furby  ประโยคก็ไม่สมบูรณ์เหมือนกัน ผลก็จะเหลือเพียงครึ่งเดียว  ความดิ้นรนทางจิต(ตัญหา)ก็เหลือครึ่งเดียว  ทุกข์ก็เหลือเพียงครึ่งเดียว

สามข้อด้านบนนี้หากนำมาปฏิบัติประกอบกันก็เพียงพอแล้วที่จะให้มนุษย์คนหนึ่งพ้นทุกข์ได้ หากอยู่ในภาวะที่พร้อมที่จะทำและยินดีที่จะทำ  และเป็นการทำเพื่อตัวเองอย่างแท้จริง เรียกได้ว่าเป็น passive mode…act for oneself.  ทำได้ทันที ไม่ได้ขึ้นอยู่กับใคร

ซึ่งในบริบทของปัจเฉกชน ถือว่าเพียงพอแล้ว …ไม่จำเป็นที่จะต้องดิ้นรนมากกว่านี้ หรือเรียกได้ว่า เพียงพอที่จะเอาตัวรอดได้ และนี้แหละคือความหมายของชีวิตที่พอเพียงจริงๆ  ใครจะทำอาชีพอะไรก็ใช้หลักนี้ได้  และหากเราสังเกตดีๆ หนังสือที่ขายดีทั่วโลกเกี่ยวกับการพัฒนาจิต ทุกๆเล่มก็จะพูดเกี่ยวข้องวนๆอยู่กับสามเรื่องนี้แหละ…

แล้วความสุขล่ะ?  ต้องทำความเข้าใจว่า ในความจริงแล้ว เราไม่สามารถสร้างความสุขขึ้นมาเองได้เลย… สิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนี้เป็นเพียงการทำให้ความทุกข์ลดลงเท่านั้นเอง… เพราะว่าความสุขที่แท้จริงจะเกิดขึ้นต่อเมื่อระดับความทุกข์เหลือศูนย์ แล้วจังหวะนั้นแหละความสุขจริงๆ ก็จะค่อยๆแตกหน่อออกมาทีละนิด  ฉะนั้นสิ่งที่เราทำได้คือ การฝึกสติให้ตั้งมั่นดังข้อ (1) แล้วความความสงบทางใจจะเกิดขึ้น แล้วความสุขก็จะตามมาเอง

กล่าวอีกนัยคือ ความสงบของใจเราก็สร้างขึ้นมาไม่ได้เช่นเดียวกัน …ก็ต่อเมื่อสติตั้งมั่นแล้ว ความสงบของใจก็จะเกิดขึ้นมาเอง

เพราะว่าการพยายามสร้างความสงบและความสุขทางใจ จะเป็นสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) คือเป็นการดิ้นรนทางจิตนั่นเอง (ตัณหา)

……………………………………………………………………..

+1

แต่ถ้าหากว่า……..ต้องการทำอะไรมากกว่านี้…

ก็จะข้ามพ้นไปจากวิสัยของปัจเจกชน คือ ไปสู่วิสัยของการทำเพื่อคนอื่น…..จะเรียกว่าเป็นวิสัยแห่งพระโพธิสัตว์ก็ได้  คือการใช้ชีวิตในเชิงรุก

แต่อย่างไรก็ตามจะทำอะไรต่อในเชิงรุกคือ active mode ได้ดี ต้องทำหลัก 3 ให้สมบูรณ์ก่อน

ฉะนั้นแล้วหากจะทำสิ่งใดที่นอกเหนือไปจาก หลัก 3 ด้านบนแล้ว ก็ให้อยู่ในหลักของ ความเมตตาเท่านั้น

+ 1) ความเมตตา (compassion)

นี่ถือเป็น active mode เป็นการทำเพื่อคนอื่น…. It ‘s a via of Bodhisattava

หมายความว่า ถ้าเราจะทำอะไรที่ transcend ตัวเราออกไปให้อยู่บนหลักความเมตตาไม่ได้…อย่าทำเสียดีกว่า…อยู่เฉยๆ ดีที่สุด

เพราะว่าหากไม่ทำโดยอยู่บนหลักความเมตตาแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์อีก วนกลับมาในทุกข์โทษอีก…มีเวรมีภัยเกิดขึ้นมาอีก ไม่จบสิ้น

…………………………………………………………………..

การผ่อนคลายในเรื่องยึดติดในตัวตนลงได้ ช่วยแก้ปัญหาใหญ่ๆ ในชีวิตได้…

ค่อยๆ เข้าใจเรื่องที่ว่า… การยึดถือตัวตน (อัตตา) ในระดับที่มากเกินไป (คือระดับปกติที่ผู้คนมีกันนั่นแหละ…คือระดับที่มากเกินไป) เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาและทุกข์เกือบทุกอย่างในชีวิต  หากไม่มีสติมากพอ หากไม่คอยสังเกตให้ดี  จะเข้าใจตรงนี้ ได้ยากมาก…

เราเป็นมนุษย์ เราก็ยึดถือตัวตนของขันธ์ห้าของกายมนุษย์แบบแนบแน่น 100% ซึ่งในความเป็นจริง  มันเป็นตัวตนอย่างนี้ ภาวะอย่างนี้ แค่ส่วนหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น …. สักพักก็จะเปลี่ยนไป…

ยกตัวอย่างเช่น

เราเป็นหัวหน้างาน… ปกติความเข้าใจของเราจะคิดว่า(ยึดติด)เราเป็นหัวหน้างาน 100% เราก็เชื่อมโยงว่ากับสังคม กับลูกน้องคนนั้นคนนี้ ระดับนั้นระดับนี้ แล้วก็คาดหวังว่า เขาต้องปฏิบัติกับเราอย่างนั้นอย่างนี้สิ  … เมื่อไม่ได้ดังหวัง ก็เป็นทุกข์ เศร้า เครียด…  แต่ในความจริงที่กว้างขวางกว่า คือ ความจริงยิ่งกว่าคือ การเป็นหัวหน้า เป็นเพียงการสมมติของขององค์ประกอบทางสังคม ในระยะเวลาหนึ่ง เท่านั้น ไม่ได้เป็น 24 ชม.  สักพักหนึ่งภาวะก็เปลี่ยนไป หายไป…  แต่ปกติแล้วมนุษย์จะไปยึดติดกับตัวตนเหล่านี้เต็มร้อย 100% เชื่อมโยง 100%  คาดหวัง 100%  แต่ในความเป็นจริงแล้ว จะสมหวังไม่ถึง 100%   นั่นก็คือกระบวนการยึดติด 100%  นี้ ทำให้มนุษย์ประสบทุกข์ 100%

ในทางกลับกัน…ตามหลักความจริงที่ยิ่งกว่า…. หากเรายึดถือ หรือยึดติดแค่ 50% ตามภาวะแห่งความรับผิดชอบในกรอบสังคม  ก็จะเชื่อมโยง 50% คาดหวัง 50% ก็จะทุกข์แค่ 50%

ความเข้าใจตรงนี้ แก้ปัญหาชีวิตได้เยอะ

และใช้ได้กับทุกกรณี

พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ  ความรู้สึกที่ว่า เราเป็นคนแบบนั่นแบบนี้  ต้องได้รับการตอบสนองแบบนั่นแบบนี้ …

ความดำริแห่งกามทั้งหลาย ก็เกิดมาจาก การยึดติดในตัวตนอย่างนี้ ทำให้เกิดจินตนาการที่ผิดพลาด…และการเชื่อมโยงและความคาดหวังที่ผิดพลาดในที่สุด

อีกตัวอย่าง..

สมมติว่า เราเป็นคนชอบกินไก่ย่าง

ในใจเราก็คิดอยู่เสมอว่า เราเป็นคนที่ชอบกินไก่ย่าง  100%

แต่ความจริง มันไม่ใช่ ทั้งหมด มันเป็นเพราะไก่ย่างอันนั้น ที่เราเคยกิน ในตอนนั้น  แล้วอร่อยมาก ชอบมาก

แต่มันก็คือไก่ย่างอันนั้น ไม่ใช่ไก่ย่างทั้งหมด… ไก่ย่างไม่ได้อร่อยทั้งหมด  ไก่ย่างที่บูดแล้วไม่อร่อย ไก่ย่างที่ปรุงไม่ดี ไม่อร่อย  บางทีย่างไม่สุก ไม่อร่อย บางทีเกรียมไป ไม่อร่อย… คือเป็นไก่ย่างที่เราไม่ชอบนั่นแหละ  ฉะนั้นความรู้สึกแบบ “ฉันเป็นคนชอบกินไก่ย่างแบบ100%” จึงเป็นการยึดติดที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

แต่เมื่อในใจเรา เราบอกตัวเอง(ยึดติด)ว่าเราเป็นคนชอบไก่ย่าง   ฉะนั้นแล้ว เมื่อเห็นไก่ย่างขายอยู่ เราก็เอาตัวเองไปเชื่อมโยง 100%  แล้วก็อยากกิน พร้อมกับคาดหวังว่า มันต้องอร่อยแน่ๆ ถ้าได้กิน แล้วไม่อร่อยก็ผิดหวัง เป็นทุกข์

กล่าวโดยสรุปคือ

ยึดติด — เชื่อมโยง — คาดหวัง — เป็นทุกข์

ปกติมนษย์จะ  ………..  ยึดติด100% — เชื่อมโยง100% — คาดหวัง100% — เป็นทุกข์100%    โดยไม่รู้ตัว

ในความเป็นจริง………….ตัวตน ภาวะ หรือโปรไฟล์ ของเราไม่ดีพร้อม เพอร์เฟค นิรันดร์ เพียงพอที่ควรจะเไปยึดติดได้ 100%

ลองฝึก ………………….ยึดติด 50%– เชื่อมโยง50% — คาดหวัง50% — เป็นทุกข์50%           จะสอดคล้องกับความจริงมากขึ้น

ถ้าทำได้………… ยึดติด0% — เชื่อมโยง0% — คาดหวัง0% — เป็นทุกข์0%        ———-เป็นอิสระ100%  —– เป็นสุข 100%

“การเชื่อมโยงทางจินตนาการที่ผิดพลาด ทำให้คนเจ็บมาเยอะ”

เพราะว่าการยึดถือในตัวตนแบบ 100% มันไม่สอดคล้องกับกฏไตรลักษณ์ที่ตัวเราเอง (กาย+ใจ)ประสบอยู่… อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา…

แบกทุกข์ การเชื่อมโยง จินตนาการที่ผิดพลาด

ในทางตรงข้ามกับหัวข้อด้านบนคือ..

เป็นสุข เป็นอิสระ อยู่กับความจริง…

การพลิกผันจะประโยคหนึ่ง ไปสู่อีกประโยคหนึ่ง…
เกิดได้เพียงแค่ข้ามคืน

ความเข้าใจ จินตนาการที่ถูกต้อง ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง

เราสามารถเปลี่ยนตัวเองจากทุกข์ให้เป็นสุขได้เพียงคืนเดียว  อันนี้ยืนยันได้…

สำรวจ….

หากแบกทุกข์อยู่…วาง
หากจินตนการที่ผิดพลาดอยู่…เลิก
หากเชื่อมโยง(ผูกพัน) ที่ผิดพลาดอยู่…ปล่อย
หาจุดความจริงเล็กๆในชีวิตเรา…ให้เจอ
หาภาวะแห่งความรู้สึกอิสระ…แม้ช่วงสั้นๆ…ให้พบ

แล้วจะเจอความโชคดีที่สุดในโลกของชีวิตเล็กๆของเรา…
แล้วจะพบสุขเล็กๆ แต่เป็นอิสระ ได้ในเวลาข้ามคืน…

:แบบฝึกหัด:

หลักการ: เราจะเป็นสุขได้เมื่อ 1) ใจเป็นอิสระ  2) ใจสงบ

แก้โจทย์

1) ใจเป็นอิสระ  สำรวจตรวจความเชื่อมโยง

ใจเราส่วนมากจะเชื่อมโยงโดยจินตนาการ  ว่าจะเป็นสัมพันธ์อย่างนี้อย่างนั้น เรามักจะเอาตัวเราไปผูกไว้กับคนนี้คนนั้น หรือกับสิ่งนั้นสิ่งนี้…. ก็ให้หยุดการเชื่อมโยงทุกชนิด  เพราะส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการเชื่อมโยงโดยจินตนาการที่เราคิดไปเอง  และไม่ได้มีอยู่จริง และบางอย่างไม่มีวันเป็นจริงได้เลย  วิธีแก้คือ ตัดความเชื่อมโยงทุกชนิด มาอยู่กับความเป็นจริงกับตัวเราเองในปัจจุบัน ปลดปล่อยให้ตัวเองเป็นอิสระ….  ทำเพียงแค่นี้ ใจเราก็จะรู้สึกปลอดโปร่งในทันที  เป็นสุขในทันที  นอนหลับสนิทในทันที ….เพราะใจเป็นอิสระ… เป็นสิ่งที่ทำง่าย ถ้าเข้าใจความจริง… และเป็นสุขได้ภายใน 5 นาที

2) ใจสงบ

เมื่อเราตัดความเชื่อมโยงทางจิต หรือทางจินตนาการได้ ใจเราก็จะค่อยๆสงบขึ้นและจะเป็นสุขขึ้น ในอีกระดับหนึ่ง….

🙂

El problema del fondo que se plantea en este artículo es la superación de la falsa auto-identificación (atta), la verdad, esta solución de atta o el atta moderado superará todo, apego, sufrimiento…

“ถอดปลั๊กจากความเป็นมนุษย์สังคม(ตัดความเชื่อมโยงทุกชนิด) สักหนึ่งชั่วโมง ก่อนนอน มาเป็นมนุษย์ธรรมดา ที่มีเพียง กายใจ และลมหายใจ นิ่งๆ เงียบๆ แล้วจะรู้สึกเป็นสุข อิสระและหลับสบายอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน”

ความทุกข์น่าจะแบ่งได้เป็นสองชนิด

การแบ่งความทุกข์เป็นแบบนี้ ทำให้เข้าใจชีวิตมนุษย์มากขึ้น

และจะเห็นได้ชัดว่า…

ความทุกข์แบบใดแก้ได้โดยตรง

ความทุกข์แบบใดแก้ไม่ได้โดยตรง

ความทุกข์แบบใดแก้ไม่ได้เลย

1— Passive Dukkha  ความทุกข์โดยสภาพ

คือความเป็นมนุษย์นี้แหละคือ ทุกข์โดยสภาพ คือ ไม่ต้องไปทำอะไรก็ทุกข์เลย  การอยู่ในวัฏฏสงสารนี้แหละคือ ทุกข์โดยสภาพ
เกิดมาก็ทุกข์เลย  ตั้งแต่ขั้นตอนการเกิด เดี๋ยวก็หิว เดี๋ยวก็กระหาย เดี๋ยวก็เจ็บ เดี๋ยวก็ป่วย สักพักก็แก่ …(เพราะขันธ์ห้าของมนุษย์นี้เป็นกองทุกข์)

ทุกข์เหล่านี้ เราทำอะไรกับมันไม่ได้มากกว่า การยอมรับมัน… เราแก้มันไม่ได้โดยตรง เพราะเป็นทุกข์ที่เป็นผลจากกระบวนการก่อนหน้านี้

ส่งมาเป็นทอดๆ…

สิ่งที่จะพอบรรเทาได้คือ ทำความเข้าใจความจริงนี้ แล้วยอมรับมัน … ก็จะรู้สึกทุกข์ เจ็บปวด …น้อยลง

2— Active Dukkha  ความทุกข์ที่เราสร้างขึ้นมากเอง

ความทุกข์ที่เกิดจากความอยากของเราเอง

คือ เมื่อเราอยากก็จะทุกข์

เมื่ออยากแล้วไม่ได้ ก็จะทุกข์

เมื่ออยากแล้วได้ ..ยึดติด ชอบ อยากได้อีก กระวนกระวาย เป็นทุกข์อีก

ความอยากหรือความพึงใจที่เชื่อมผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า หู ตา จมูก ลิ้น กาย นี้แหละเป็นทุกข์

แต่ทุกข์นี้ แก้ได้…

โดยการไม่อยาก…

ไม่อยากไม่ได้หมายความว่า ไม่กิน ไม่เอา ไม่บริโภคใดๆ เลย  …. แต่เราบริโภคไปตามสภาวะและเหตุผลเพื่อบรรเทาทุกข์ในข้อ 1)  แม้บางทีไม่สมหวังเราก็ไม่รู้สึกเสียใจ  ยอมรับสภาพได้  เมื่อเงือนไขเป็นแบบนั้น ก็เป็นแบบนั้น

แต่เมื่อใดที่เป็นความอยากบริโภคที่นอกเหนือไปจากการบำบัดทุกข์ในข้อ 1) แล้ว เมื่อไม่ได้ดังใจ เราก็จะเป็นทุกข์ กระวนกระวาย.. แม้ได้รับความพีงใจ เราก็ยึดติดมันอยากจะบริโภคอยู่เนืองๆ ก็จะทุกข์อยู่เนืองๆ เพราะโดยเงื่่อนของความเป็นมนุษย์แล้ว มันเป็นไปไม่ได้ที่จะได้สมหวังดังใจ อยู่ตลอดเวลา

ทุกข์ในข้อนี้แก้ได้ เพราะว่าความอยาก หรือตัณหานี้ คือ มีต้นเหตุลึกๆ มาจาก กิเลส ที่ฝังแน่นอยู่ในใจ…. กำจัดความอยากกำจัดไม่ได้ แต่กำจัดกิเลส กำจัดได้…

และเมื่อแก้ทุกข์ข้อนี้ได้แล้ว ทุกข์ในข้อ 1) ก็จะไม่มี จะหายไปเลย เพราะจะไม่มีการเกิดมาเป็นมนุษย์อีก…

ความอยากทุกอย่างเป็นทุกข์หมด…

ความทุกข์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอุปาทานโดยตรง

ความทุกข์เกี่ยวกับความอยากโดยตรง

ความอยากทุกชนิดก่อให้เกิดทุกข์ทั้งนั้น แม้ว่าความอยากบางชนิดไม่ได้ก่อให้เกิดอุปาทาน

แต่ความอยากที่ก่อให้เกิดอุปาทานนั้นก่อนให้เกิด ภพและชาติตามมา…

 

แม้ไม่มีความอยากชีวิตมนุษย์ก็เป็นทุกข์โดยสภาพอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีความอยาก วงจรทุกข์ก็ค่อยๆ หมดไป  ภพและชาติก็จะยุติลงในที่สุด

แต่ถ้ามีความอยาก ชีวิตก็จะเป็นทุกข์โดยอาการ และมีการสืบทอดทุกข์ไปสู่ภพและชาติใหม่…

Consejos para meditar con éxito.

Son los trucos extraídos de ariyasajj 4 y de experiencia propia. Sobre todo de samudgaya.

image

KnowHow

La mente concentrada es la mente pura.
La mente pura es ka mente potente.
La mente potente es la mente para quemar kilesa.

น้ำ + เกลือ กำจัดกลิ่นปาก และเหงือกฟันแข็งแรง ง่ายๆ ราคาประหยัด

ถ้าเราใช้ เกลือ กับ น้ำ ผสมกัน แล้วบ้วนปากทุกครั้งหลังตื่นนอน

และหลังทานอาหาร หรือว่า หลังแปรงฟัน ก็จะทำให้

กลิ่นปาก และกลิ่นอาหารที่ติดปากหมดไปเลย

อีกทั้ง ทำให้ฟันและเหงือกแข็งแรง เพราะเกลือจะช่วยกำจัดแบคทีเรียได้อย่างดี

และยังทำให้ไม่มีหินปูนมาเกาะได้

ส่วนน้ำยาบ้วนปากราคาแพงๆ นั้น ไม่จำเป็นเลยครับ

ใช้เกลือนี่แหละ ได้ผลดีที่สุด

หรือเวลาเดินทางไปไหน ไม่ได้เอายาสีฟันแปรงสีฟันไป ก็ให้บ้วนปากกับน้ำเกลือ ก็ช่วยแก้ปัญหาได้

สำหรับยาสีฟัน เท่าที่ลองมาหลายยี่ห้อแล้วแนะนำ

Sensodyne

ทีนี้ทุกท่านก็จะมีสุขภาพปากและฟันแข็งแรงในราคาประหยัดได้แล้วครับ

🙂